Support
Spalco-OWA.com
02-391-4224
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

อุปกรณ์ในการซับเสียง คือ วัสดุดูดซับเสียง-ลดการสะท้อนของเสียง

kaewtaspalco@hotmail.com | 01-08-2559 | เปิดดู 9572 | ความคิดเห็น 1

 

Acoustic Foam, Acoustic Board
Acoustic Absorber Material, Rock wool, glass wool... 
แผ่นซับเสียง ฟองน้ำบุเสียง การจัดการกับเสียง สำหรับห้องบันทึกเสียง ห้องซ้อม ห้องฟังเพลง


เรื่องจัดการเสียง 

 

 

อุปกรณ์ในการซับเสียง คือ วัสดุดูดซับเสียง-ลดการสะท้อนของเสียง


วัสดุซับเสียงก็มีหลายแบบ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการซับเสียงต่างๆกันไป วัสดุประเภทเส้นใยและที่เป็นรูพรุนจะซับเสียงได้ดี มีค่าการวัดเรียกว่า STC ค่าสัมประสิทธิ์ การดูดซับเสียง (Sound Absorption Coefficients) เป็นตัวบอกว่าลดได้เท่าไหร่ ในแต่ละความถี่ 


วัสดุซับเสียงที่มีขายในตลาดก็มีหลายแบบ เช่น ฟองน้ำ โฟมแบบรูพรุน วัสดุประเภทใยหิน ใยแก้ว Acoustic Board.... ส่วนพวกพรมอัด ไม่ค่อยช่วยอะไรเท่าไหร่ มันก็ซับ แต่น้อย จะใช้แบบไหนดี ก็อยู่ที่งบประมาณเราเป็นหลักละครับ และจะซับมาก ซับน้อย ขนาดไหน ก็อยู่ที่เราต้องการให้มันเป็น หากบุ 100% เสียงก็จะทึบๆอับๆ ห้องซ้อม ไม่นิยมบุมากจะบุกลางๆ ส่วนห้องอัดก็อาจจะมีหลายโซน บางห้องก็บุ 100% จนอาจเรียกได้ว่า death room บางห้องก็ต้องการกลางๆเป็นแบบ Live Room


ค่าการซับเสียงของวัสดุต่างๆ 


** หลายๆคนที่ชอบง่ายๆ ก็ใช้ลังไข่ เพราะถูกดี มาดูค่าการซับเสียงมันเทียบกับฟองน้ำซับเสียง จะเห็นว่าลังไข่จะซับที่ย่านกลาง 600-800 Hz มาก ส่วนย่านกลาง-แหลม จะได้ลดน้อยลง ส่วนย่านเบสแทบบไม่ได้เลย เทียบกับ Acoustic Foam จะได้กว้างกว่าและสูงกว่า ดังนั้นหากใช้ลังไข่ในห้องซ้อมดนตรีก็จะดีครับ เพราะมัน
จะลดเสียงกลางที่แยงๆหูของเครื่องดนตรีสด ลงไปได้เยอะ


 
 ผนังห้องกรุไม้อัด ด้านในใส่วัสดุซับเสียง(ลังไข่)

วัสดุซับเสียงในห้อง แบบง่ายๆ 3 แบบ คือ

1-M-Sorp - เป็น Polyetelene foam ทำผิวหน้าเป็นแบบปิรามิด ขนาด 60x60 ซม. ตัวนี้ซับเสียงย่าน Mid-High เป็นส่วนใหญ่ ตั้งแต่ย่าน 1Khz ขึ้นไป ทำมาเพื่อ
งานนี้โดยเฉพาะ ใช้ง่าย เพียงแปะกาวยางลงไปสัก 6-8 จุด ก็ติดละ เพราะน้ำหนักเบา
2-Acoustic Foam - ฟองน้ำสำหรับซับเสียง มี 2 ผิว ตามรูปด้านล่าง ผิวรังไข่จะเห็นมีขายตามร้านขายพรมด้วย แบบแผ่นใหญ่
ใช้ง่ายเช่นกัน เพียงแปะกาวยางลงไปสัก 6-8 จุด ก็ติดละ เพราะน้ำหนักเบา
3-Acoustic Board - เป็นแผ่นฝ้าเพดานคล้ายยิปซั่มบอร์ด แต่มีส่วนผสมของวัสดุที่ช่วยดูดซับเสียง รวมทั้งทำผิวให้ลดการสะท้อนของเสียง เช่น เจาะรู มีขนาด 60x120 ซม.และ 60x60 ซม. เราจะเห็นจากฝ้าเพดานตามสนามบิน โรงพยาบาลหรืออาจจะเป็น ห้อง ประชุม ห้องกระจายเสียงวิทยุ(วงการงานก่อสร้างจะรู้จักกันดี) แผ่นพวกนี้ จะช่วยซับย่าน Broad band เหมาะสำหรับใช้ภายในอาคาร เช่น เพดาน แต่ต้องเป็นเพดานชั้นที่ 2 จากเพดานเดิม (เนื่อง จากเพดานชั้นแรกจะเจอกับ ความร้อนมาก แผ่น Acoustic Board เมื่อโดนความร้อนสูง ๆ อาจจะงอและหดตัวได้) ตัวนี้มีน้ำหนักมากกว่าฟองน้ำ ต้องยิงสกรู หรือวางบน T-Bar

วัสดุซับเสียงแบบอื่นๆ ที่ต้องการการติดตั้งที่ยุ่งยากมากขึ้น
กลุ่ม Insulation หรือฉนวน ซึ่งกันได้ทั้งความร้อน และเสียง 

กลุ่มนี้คือไยหิน ไยแก้ว มีความหนา ความแน่น หลายระดับ แต่อันนี้แหละ เจ๋งสุดๆๆ ครับ แต่วิธีติดก็ยุ่งกว่า ต้องทำโครงสร้างรับมัน สำหรับมืออาชีพเท่านั้น คนที่
ซีเรียสเรื่องเสียงจริงๆ ก็ต้องยอมละครับ ห้องบันทึกเสียงระดับโปร ส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้ทั้งหมด วัสดุพวกนี้จะซับเสียงได้มาก จึงนำไปใส่ในผนังเพื่อลดพลังงานเสียง
วิธีบุผนังด้วยใยหิน ใยแก้ว ต้องทำโครงไม้อย่างรูปข้างล่างครับ จะเห็นว่ามีค่าใช้จ่ายเยอะขึ้น แต่ประสิทธิภาพสูงสุด เงียบหวิ้ว เลยล่ะครับ 55
 

ใยหิน แบบอัดแผ่นอย่างหนา

เทคนิคการซับเสียงที่ผมใช้คือ...
เมื่อวัสดุซับเสียงแต่ละอย่าง ซับความถี่ต่างกัน เราจึงจำเป็นต้องลดลงทุกช่วงความถี่
1-ความถี่ย่านกลาง-แหลม 
หากเราสังเกตุจากกราฟ NRC (noise reduction coefficient) ก็จะพบว่าวัสดุประเภทฟองน้ำ M-sorb หรือพวกม่าน พรม...พวกนี้จะซับเสียงย่าน
กลางแหลมเป็นส่วนใหญ่ คือตั้งแต่ 1K ไปจนถึง 10K ดังนั้นหากเราใช้วัสดุพวกนี้บุเต็มห้อง เสียงแหลมก็จะหายไป เหลือแต่ทุ้มกับกลางทุ้ม
ดังนั้น ควรใส่พอประมาณ
2-ความถี่ย่านกลาง Mid 500-800 Hz. ย่านนี้จะพบว่าพวกลังไข่จะตอบสนองดี 55 แต่พวกเส้นไยต่างๆจะซับได้ดี เช่น ไยหิน ไยแก้ว
3-ความถี่ย่าน Mid Low ที่ 100-500 Hz. จะพบว่า Echobloc จะลดการสะท้อนของย่านนี้ได้ดี ดังนั้นใช้วัสดุเจาะเป็นรูๆ ร่วมกับไยแก้วด้านใน

4-ย่านต่ำ Low คือย่าน 150 Hz ลงไปจนถึงเราแทบจะไม่ได้ยินคือ 40 Hz. ย่านนี้เราต้องใช้ Bass Trap มาช่วยแล้วครับ คือ อัดฟองน้ำเข้าตรงมุม
อย่างหนาๆเลย หรือทำกล่องไม้อัดยัดไยแก้ว (Panel absorber) ซึ่งลอง search หาดูก็จะพบ bass trap หลายๆอย่าง ลองทำดูนะครับ แต่การผสม
ไยแก้วกับแผ่น Panel เจาะรูจะทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น Echobloc หรือ Bass Trap panel
 

วัสดุจัดการเสียงอื่นๆ
วัสดุช่วยให้เสียงเป็นระเบียบ จัดทิศทางการสะท้อนของเสียง อีกระดับความอร่อยของหู

Defuser ตัวจัดการให้เสียงสะท้อนเป็นระเบียบสม่ำเสมอ ไม่อึงคนึง หวานน่าฟัง ว่าไปโน่นเลยครับ อันนี้เป็นอีกระดับของความบ้าเรื่องเสียง มันจะอะไรกัน นักกันหนากับหูของเรานะ แต่ก็เป็นไปแล้วครับ เพื่อความสุขของหูเรา เหมือนอวัยวะส่วนอื่นไง ฮา !!! โดยเฉพาะคนที่ซีเรียสในการฟังเพลงหรือแม้แต่การบัน
ทึกเสียงอย่างรูปด้านล่าง อันนี้เราไม่ขายครับและไม่สนับสนุน เพราะมันแพงครับและไม่ได้เห็นผลชัดเจน ที่เห็นในรูป ราคาหลายหมื่นบาทต่อชิ่น  ที่เห็น ใช้กันก็มีนักฟังเพลงในบ้านระดับหูทอง ที่มีห้องหรู พร้อมเครื่องเสียงชุดละหลายแสน ส่วนในห้องอัดไม่มีใครรู้หรอกว่า เสียงที่อัดมา ใช้อะไรซับเสียง ยิ่ง
Defuser ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ใครใช้ตัวนี้ในห้องอัด ผมเรียกกลุ่มพวกนี้ว่า บ้าเรื่องเสียงระดับ 5 !! คนที่บ้าอาจจะไม่ใช่นักดนตรีที่ยิ้มๆอยู่ แต่เป็นพวกที่ทำห้องอัด เสียง หรือ Sound Engineer ที่ทำงาน !


สรุป !
 เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้..

การจัดการกับเสียง อยู่ที่ว่าเราซีเรียสกับมันขนาดไหนนะครับ ซึ่งมี 2 อย่าง คือ กันเสียง และซับเสียง ที่มีปัญหากันมากคือการกันเสียง ซับนั้นไม่เท่าไหร่ !
หากเป็นห้องฟังเพลง ก็ซับระดับพอประมาณ กันเสียงออกไปนอกห้องพอประมาณ เพราะข้างในไม่ดังมาก ใชัวัสดุซับไม่มากก็ ok แล้ว
หากเป็นห้องซ้อมก็จะต้องกันมากหน่อยเพราะข้างในดังมากกว่าการฟังเพลงมาก ส่วนการซับก็ไม่นิยมซับมาก เพราะจะอึดอัดไม่เป็นธรรมชาติ ให้สะท้อนบ้าง
หากเป็น ห้องอัดเสียง บางจุดก็อาจจะให้สะท้อนบ้าง บางจุดก็จะทั้งซับทั้งกันแบบสุดๆ ห้องระดับโปร จะกันเสียงที่ผนังมากเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้เสียงจากข้าง
นอกเล็ดลอดมาเข้าที่ไมค์ได้
หากเรามีปัญหาเสียงจากข้างนอกมารบกวนเรา หรือเราไม่ต้องการเสียงดังในห้องเราไปรบกวนคนอื่น ก็ต้องกันเสียงที่ผนัง-ประตู-หน้าต่างกันแบบสุดๆ 
การทำและการใช้วัสดุก็อยู่ที่ความเหมาะสมและงบประมาณของเราเป็นหลัก เราเท่านั้น ที่จะเป็นผู้กำหนดและตัดสินใจ หลักการใครๆก็รู้ครับ เพราะมีการ
แชร์ข้อมูลกันในเรื่องนี้อยู่แล้ว ผมคนหนึ่งล่ะ ที่กำลังแชร์มุมมองของผมเอง อย่าเชื่อทั้งหมดที่พูดมา นะ

ขอบคุณที่มา:

http://www.mxmsound.com/Acoustic

 

 

 

ความคิดเห็น

วันที่: Mon Dec 23 18:32:00 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 1 Pages: 1/1
guest
รชฏพลย์ ขัธพาลีย์
- Guest -

2016-10-12 10:52:57.0 Post : 2016-10-12 10:52:57.0

 

3 งานปรับปรุงการสะท้อนของเสียงภายในอาคาร
3.1 งานติดตั้งแผ่นสะท้อนเสียงฝ้าเพดาน ชนิดทรงพีระมิด
3.2 งานเตรียมพื้นผิวฝ้าเก่า
3.3 งานติดตั้งแผ่นซับเสียง ชนิดทรงพีระมิด
3.4 งานเตรียมพื้นผิวผนังเดิม
3.5

งานติดตั้งแผ่นซับเสียง ชนิดนวมกรุทับหน้าด้วยแผ่น 

สนใจงานตัวนี้กรุณาติดต่อกลับ

Quote

1