Support
Spalco-OWA.com
02-391-4224
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ดูดซับ เก็บ สะท้อน...หลากวัสดุเพื่อการควบคุมเสียงภายในอาคาร

kaewtaspalco@hotmail.com | 08-07-2559 | เปิดดู 6532 | ความคิดเห็น 0

 

ดูดซับ เก็บ สะท้อน...หลากวัสดุเพื่อ การควบคุมเสียงภายในอาคาร

 

 

Trevira CS .jpg

 

เรื่องของเสียงนั้น นอกจากเสียงดนตรี มนุษย์ก็ยังได้ยินเสียงในธรรมชาติทั่วไป ซึ่งบางครั้ง เสียงที่มีความดังเกินไปก็อาจเป็นการรบกวนการดำเนินชีวิตได้ ในแวดวงวัสดุจึงได้มีการคิดค้นวัสดุเพื่อการควบคุมเสียงขึ้น โดยทั่วไป ความแตกต่างของการใช้วัสดุเพื่อควบคุมเสียงแบ่งเป็นสามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ 1. การดูดซับเสียง (Sound Absorption) 2. การเก็บเสียง (Sound Acoustic) ซึ่งใช้สำหรับการควบคุมเสียงก้องและเสียงสะท้อนในห้องหรืออาคาร มีหลักการทำงานคือยอมให้เสียงผ่านเข้ามาในฉนวนและดูดซับพลังงานเสียง ส่วน 3. การกันเสียง (Sound Proof) มีหลักการแตกต่างออกไปตรงที่จะไม่ยอมให้เสียงผ่านไปได้ 
          
วัสดุทุกชนิดสามารถดูดซับเสียง ควบคุมเสียงสะท้อน และกันเสียงได้ในระดับที่แตกต่างกันไป วัสดุที่เป็นฉนวนดูดซับเสียงจะมีลักษณะเป็นเส้นใยหรือมีรูพรุนเพื่อให้เสียงเดินทางผ่านเข้าไปยังฉนวน ขณะเดียวกันก็จะดูดซับพลังงานเสียงไว้ส่วนหนึ่ง ทำให้เสียงที่ผ่านฉนวนออกมามีความแรงและคลื่นความถี่ลดลง ส่งผลให้เสียงนั้นเบาลงไปและพลังงานเสียงที่ถูกดูดซับเข้าไปจะถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นพลังงานรูปอื่น ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นพลังความร้อน ทั้งนี้จำนวนพลังงานที่ถูกดูดซับเข้าไปจะแสดงในรูปของค่าสัมประสิทธิ์การลดเสียงหรือ Noise Reduction Coefficient (NRC) ซึ่งเป็นตัวเลขที่จะระบุได้ถึงความสามารถในการดูดซับเสียงของวัสดุ โดยทั่วไปค่า NRC จะต้องมากกว่า 0.40 จึงจะถือว่าเป็นวัสดุดูดซับเสียง ล่าสุดวัสดุที่ได้รับรางวัลชนะเลิศด้าน Innovative Acoustic Surface ของนิตยสาร Interior Design กลับเป็นผ้าเนื้อบางโปร่งแสงที่สามารถดูดซับเสียงได้จากบริษัท Carnegie สหรัฐอเมริกา ผ้าดังกล่าวผลิตจากเส้นใย Trevira CS ซึ่งเป็นโพลีเอสเตอร์ (PET) ทำให้แตกต่างจากผ้าซับเสียงทั่วไป เนื่องจากวัสดุมีส่วนประกอบของฟิล์มเส้นด้ายที่แบนและใส ทำให้ผ้ามีความโปร่งใสแต่ยังดูดซับคลื่นเสียงได้ และมีคุณสมบัติกันไฟลาม ไม่ซีดจาง คงทน ต้านทานการขัดถู อ่อนตัวดี และมีความเสถียรด้านขนาด โดยเส้นด้ายแบนจะถูกนำไปทอรวมกับด้ายขนปุยในกระบวนการเฉพาะของผู้ผลิต ทั้งยังนำไปตัดเย็บได้ตามปกติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การลดเสียง (NRC) อยู่ระหว่าง 0.5–0.6 และที่สำคัญ มีคุณสมบัติการกันไฟลามตามมาตรฐาน NFPA 701 เหมาะสำหรับบุเฟอร์นิเจอร์ ทำผ้าม่าน ผนังกั้นส่วน และผนังซับเสียง 

 

 Ping-Art2.jpg

 

นอกจากนี้ ข้อควรคำนึงถึงอย่างมากในการเลือกใช้วัสดุคือองค์ประกอบของวัสดุที่จะต้องไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ในประเทศไทยบริษัท Ping-Artจังหวัดเชียงใหม่ ได้คิดค้นวัสดุจากวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรอย่างฟางข้าว มาทำเป็นฉนวนกันความร้อนและลดเสียงสะท้อน โดยมีสัดส่วนการผลิตจากฟางข้าวร้อยละ 47.5 เยื่อกระดาษร้อยละ 47.5 และสารหน่วงไฟ NH2SO4 ร้อยละ 5 โดยไม่มีส่วนผสมของใยหิน ใยแก้ว กาวฟอร์มัลดีไฮด์ และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) จากนั้นนำมาขึ้นรูปเป็นแผ่นโดยการอัดด้วยความร้อน ทั้งยังมีคุณสมบัติต้านทานแมลง ช่วยลดเสียงรบกวน นำไปรีไซเคิลได้ ดูดซับเสียงได้ดี มีประสิทธิภาพในการควบคุมอุณหภูมิและไม่ลามไฟ ผ่านการรับรองปริมาณไททาเนียมไดออกไซด์ของกระดาษและบอร์ดตามมาตรฐาน ISO 5647:1990 เหมาะสำหรับทำฉนวนและงานตกแต่งภายใน 

เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข 

ที่มา: 

 


boyawards.interiordesign.net 
ganfai.com 
microglassinsulation.com 

 

 

ขอบคุณ

 

http://www.tcdc.or.th/

 

 

 

 

 

ความคิดเห็น

วันที่: Mon Dec 23 19:16:44 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0